วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

หลักอะกีดะห์ตามปรากฏในตำราฟิกฮ์อักบัร ของอิหม่ามอาบูฮะนีฟะห์


หลักการศรัทธาแห่งศาสนาอิสลาม
เนื้อหาจากตำราฟิกฮ์อักบัรของท่านอิหม่ามอาบูฮะนีฟะห์
แปลโดยมูฮำหมัดคอลดูน ฮัจยีมุสตอฟา



หลักการศรัทธาแห่งศาสนาอิสลาม

เนื้อหาจากตำราฟิกฮ์อักบัรของท่านอิหม่ามอาบูฮะนีฟะห์

แปลโดยมูฮำหมัดคอลดูน ฮัจยีมุสตอฟา

(1)        รากฐานของเตาฮีดและสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องยึดมั่นในหลักการศรัทธา (เอียะอ์ติก๊อด)นั้นคือ การกล่าวปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าศรัทธาต่ออัลเลาะห์ (พระผู้เป็นเจ้าแต่องค์เดียว) ต่อบรรดามะลาอีกัตของพระองค์ ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ ต่อการฟื้นคืนชีพหลังจากการตาย ศรัทธาว่าอันความดีและความชั่วนั้นล้วนแล้วมาจากอัลเลาะห์ทั้งสิ้น ศรัทธาต่อการสอบสวน การชั่งน้ำหนักความดีและความชั่ว (ในวันอาคีรัต) สวรรค์และนรกทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสัจจะจริงทั้งสิ้น

(2)        (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์นั้นทรงป็นเอกะ (เป็นหนึ่งเดียว) ไม่ใช่ในด้านจำนวน (เท่านั้น) แต่ทรงเป็นเอกะในแง่ที่ทรงปราศจากภาคี พระองค์ไม่ทรงประสูติบุตร และไม่ถูกประสูติ (โดยผู้ใด) ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ ทรงไม่เหมือนกับสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างและไม่มีสรรพสิ่งที่ถูกสร้างใดๆเหมือนกับพระองค์ ทรงดำรงด้วยพระนามและซีฟัต (พระคุณสมบัติ) ทั้งซีฟัต ฟิอ์ลียะห์ (คุณสมบัติที่ขึ้นกับการกระทำของพระองค์) และซีฟัต ซาตียะห์ (คุณสมบัติที่ขึ้นกับ ซาต ของอัลเลาะห์)

(3)        (เราศรัทธาว่า) ซีฟัต ซาตียะห์ สำหรับอัลเลาะห์นั้นประกอบไปด้วยซีฟัต ฮะยาต(การดำรงชีวิต) กุดเราะห์(การทรงมีอานุภาพ) อิลม์(การทรงรอบรู้) กะลาม(การทรงดำรัสพูด) ซัมอุ์ (การทรงสดับได้ยิน) บะซอร(การทรงทอดพระเนตรมอง) และอีรอดะห์ (การทรงพระประสงค์)

(4)        (เราศรัทธาว่าอัน) ซีฟัต ฟิอ์ลียะห์ สำหรับอัลเลาะห์นั้นประกอบไปด้วย ซีฟัต ตัคลีค (การทรงสร้าง) ตัรซีก(การทรงประทาน  ริสกี) อินชาอ์(การทรงทำ) อิบดาอุ์และซอนอ์(การทรงให้กำเนิดบังเกิดขึ้น) และซีฟัตอื่นๆจากบรรดาซีฟัตฟิอ์ลียะห์  อัลเลาะห์ทรงดำรงด้วยกับพระคุณสมบัติ(ซีฟาต)และพระนาม(อัสมาอ์) หาใช่เป็นสิ่ง ฮาดิษ ไม่ (กล่าวคือทั้งสองไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างไม่)

(5)        (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์ทรงรอบรู้ด้วยกับคุณสมบัติ อิลม์(ความทรงมีความรู้)และ ซีฟัต อิลม์ นั้นเป็นคุณสมบัติของพระองค์ตั้งแต่ อาซาลี (ดั้งเดิม) อัลเลาะห์ทรงมีอานุภาพด้วยกับคุณสมบัติ กุดเราะห์(ความมีอานุภาพ) และซีฟัตกุดเราะห์นั้นเป็นคุณสมบัติของพระองค์ตั้งแต่ อาซาลี(ดั้งเดิม) อัลเลาะห์ทรงดำรัส(พูด)ด้วยกับคุณสมบัติ กะลาม (การทรงดำรัสพูด)และการดำรัสพูดของพระองค์นั้นเป็น คุณสมบัติของพระองค์ตั้งแต่ดั้งเดิม อัลเลาะห์นั้นเป็นผู้ทรงสร้างด้วยกับคุณสมบัติ ตัคลีก (การทรงสร้าง) และซีฟัต ตัคลีก นั้นเป็นคุณสมบัติที่อะซาลี(ดั้งเดิม) สำหรับพระองค์ อัลเลาะห์นั้นเป็นผู้บันดาลทำด้วยกับซีฟัต ฟิอ์ล(การทำ)ของพระองค์และซีฟัต ฟิอ์ล(การทำ) นั้นเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมสำหรับพระองค์และ (เราศรัทธาว่า) ผู้ที่บันดาลสร้างนั้นคืออัลเลาะห์และการกระทำนั้นเป็นซีฟัตดั้งเดิมสำหรับพระองค์และสิ่งที่ถูกทำนั้นคือ มัคลูค (สิ่งที่พระองค์สร้าง/สิ่งที่ถูกสร้าง) (เราศรัทธาว่าอัน)การกระทำของอัลเลาะห์นั้นไม่ใช่ มัคลูค คุณสมบัติของอัลเลาะห์ทั้งมวลนั้น   อะซะลี(ดั้งเดิม) และไม่ใช่ มัคลูค(สิ่งที่ถูกสร้าง) และผู้ใดที่กล่าวว่า คุณสมบัติของอัลเลาะห์คือมัคลูค ที่ถูกสร้างหรือมีความสงสัยและไม่มั่นใจ (ในความดั้งเดิมของคุณสมบัติของอัลเลาะห์)  เขาผู้นั้นได้เป็นกาเฟร-ออกจากศาสนาอิสลาม.

(6)        (เราศรัทธาว่า) อันอัลกุรอ่านนั้นคือคำตรัสดำรัสของอัลเลาะห์ถูกเขียนลงบน มัซฮัฟ(แผ่นหนังสือ) ถูกเก็บรักษาไว้ในใจ(โดยบรรดานักฮาฟิซ-(ผู้ที่ท่องอัลกุรอ่านจนขึ้นใจ) ถูกอ่านโดยลิ้น (ของบรรดาผู้อ่านกุรอ่าน ถูกประทานลงมายังท่านศาสดามูฮำหมัด) (เราศรัทธาว่า)การอ่านกุรอ่านของเรานั้นเป็นมัคลูค(สิ่งที่ถูกสร้าง) การเขียนกุรอ่านของเรานั้นคือ มัคลูค (สิ่งที่ถูกสร้าง) แต่ทว่ากุรอ่านเองนั้นหาใช่มัคลูค(สิ่งที่ถูกสร้าง)ไม่ และ(เราศรัทธาว่า) เรื่องราวที่อัลเลาะห์ทรงดำรัสกล่าวเกี่ยวกับท่านนบีมูซา ศาสดาองค์อื่นๆ ฟิรอูนหรืออิบลีส ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นคำตรัสของพระองค์ทั้งสิ้น-ที่ได้ทรงเล่าเกี่ยวกับพวกเขาทั้งหลาย คำตรัสของอัลเลาะห์นั้นไม่ใช่มัคลูค แต่(ในทางตรงกันข้าม) คำกล่าวของท่านนบีมูซาและสรรพสิ่งอื่นๆล้วนแต่เป็น มัคลูค ทั้งสิ้น (เราศรัทธาว่า)อัลกุรอ่านนั้นคือคำตรัสของอัลเลาะห์ซึ่ง กอดีม(ไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้าง/ดั้งเดิม) ผิดกับคำพูดของสรรพสิ่งอื่นๆ

(7)        (เราศรัทธาว่า) ท่านนบีมูซานั้นได้ยินคำตรัสของอัลเลาะห์ ดังที่อัลเลาะห์ได้ทรงมีโองการในอัลกุรอ่าน ซึ่งมีใจความว่า และอัลเลาะห์ได้ทรงตรัสรับสั่งกับมูซา

(8)        (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์ได้ทรงตรัส (ตั้งแต่ดั้งเดิม)ไม่ใช่เพิ่งทรงตรัสในขณะที่ทรงพูดกับท่านนบีมูซา (เท่านั้น)อัลเลาะห์คือผู้ที่ทรงสร้างตั้งแต่ดั้งเดิมไม่ใช่เพิ่งทรงสร้าง ดังนั้นในขณะที่อัลเลาะห์ทรงตรัสดำรัสกับท่านนบีมูซา พระองค์ทรงตรัสด้วยคำกล่าวที่เป็นคุณสมบัติดั้งเดิมอะซะลีสำหรับพระองค์

(9)        (เราศรัทธาว่า) คุณสมบัติทั้งหมดของอัลเลาะห์นั้นแตกต่างกับคุณสมบัติของบรรดามัคลูค พระองค์ทรงรอบรู้ แต่ความรอบรู้ของพระองค์แตกต่างกับการรู้ของเรา(มนุษย์) พระองค์ทรงอานุภาพ แต่อานุภาพของพระองค์นั้น แตกต่างกับความสามารถของเรา(มนุษย์) พระองค์ทรงดำรัสพูด แต่การดำรัสของพระองค์นั้นแตกต่างกับการพูดของเรา พระองค์ทรงได้ยินนั้นแต่การได้ยินของพระองค์นั้นแตกต่างกับการได้ยินของเรา

(10)   (เราศรัทธาว่า) การพูดของเรานั้นเราพูดโดยอวัยวะต่างๆ (ลิ้น ฟัน หลอดลม คอและอื่นๆ) และใช้อักษร แต่ทว่าอัลเลาะห์ทรงดำรัสโดยไม่ผ่านอวัยวะใดๆหรืออักษรใดๆ อันอักษรนั้นเป็นมัคลูค แต่ทว่าคำกล่าวของอัลเลาะห์นั้นไม่ใช่มัคลูค

(11)   (เราศรัทธาว่า) พระองค์(อัลเลาะห์) คือสิ่ง แต่ทว่าทรงแตกต่างกับสรรพสิ่งทั้งหลาย อันความหมายของคำว่า สิ่ง (ในที่นี่)หมายถึง ทรงมีอยู่ แต่ปราศจากรูปร่าง เญาฮัร อัรด์ ฮัด  ปราศจากปรปัฎ ภาคี สิ่งเสมอเหมือน พระองค์ทรงมีพระหัตถ์(มือ) พระพักตร์(หน้า) และชีวิต ดังที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอ่านและ (เราศรัทธาว่า)ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์(อัลเลาะห์)ได้ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอ่านเกี่ยวกับพระหัตถ์(ยะดุน) พระพักตร์(วัจหุน)และชีวิต(ฮะยาตุน)ของพระองค์นั้นล้วนแล้วแต่เป็นคุณสมบัติของพระองค์โดยปราศจากรูปร่าง (และกัยฟุ์ความเป็นอย่างไร)

(12)   และ(เราศรัทธาว่า)ไม่เป็นการสมควรที่จะแปลความหมายของคำว่า มือของอัลเลาะห์ ว่าหมายถึง พลานุภาพของอัลเลาะห์หรือ นิกมัตของอัลเลาะห์ ทั้งนี้และทั้งนั้นมันจะเป็นการปฏิเสธต่อคุณสมบัติของอัลเลาะห์และมันเป็นแนวความคิดของกลุ่มมอตาซีละห์                  (เราศรัทธาในประเด็นนี้ว่า) พระหัตถ์ของอัลเลาะห์นั้นเป็นซีฟัตของอัลเลาะห์ที่ปราศจากรูปร่างความเป็นอย่างไร

(13)   (เราศรัทธาว่า)ความโกรธกริ้วและความพึงพอใจของอัลเลาะห์นั้นคือซีฟัตของอัลเลาะห์ที่ปราศจากความเป็นอย่างไร อัลเลาะห์ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากความว่างเปล่า (จากการไม่มี) และอัลเลาะห์ทรงรอบรู้ ตั้งแต่อะซะลี(ดั้งเดิม)เกี่ยวกับสรรพสิ่งต่างๆ ก่อนการมีขึ้นของสรรพสิ่งเหล่านั้นและพระองค์คือผู้ที่กำหนดความเป็นไปของสรรพสิ่งทั้งหลายและพระองค์ได้ทรงเขียนกำหนดการเหล่านั้นในรูปของการบอกเล่า(ว่าทุกอย่างจะเป็นไปดังนั้นหรือดังนี้) และพระองค์หาได้เขียนในรูปของการกำหนดตายตัวไม่(กล่าวคือพระองค์ไม่ได้ทรงบังคับในการกำหนดการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆไม่) (เราศรัทธาว่า) กอดอ กอดัร(การกำหนดความดีและความชั่ว)และความประสงค์ของอัลเลาะห์นั้นคือคุณสมบัติซีฟัตของอัลเลาะห์ที่อะซะลี(ดั้งเดิม) โดยปราศจากความเป็นอย่างไร(กล่าวคือมันสมองของมนุษย์ไม่อาจเอื้อมเข้าไปเข้าใจถึงแก่นสารที่แท้จริงของซีฟัตดังกล่าวไม่)

(14)   (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์ทรงรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ยังไม่อุบัติขึ้นในสภาพที่มันยังไม่อุบัติขึ้นและทรงรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นในสภาพหลังจากที่มันได้ถูกอุบัติขึ้นโดยพระองค์ (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์ทรงรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่ในสภาวะการมีอยู่ของสิ่งนั้นและทรงรอบรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นหลังจากที่มันสิ้นสภาวะของการมีอยู่ อัลเลาะห์ทรงรอบรู้เกี่ยวกับบุคคลที่ยืนอยู่ในสภาพที่เขากำลังยืนและเมื่อเขานั่งลงพระองค์ทรงรู้เกี่ยวกับเขาในสภาวะการนั่งของเขา(จุดนี้เพื่อบ่งบอกถึงความรอบรู้ของอัลเลาะห์ที่ทรงรู้ทุกสภาพของสรรพสิ่งต่างๆ)ซึ่งทั้งหมดนี้หาได้ทำให้ซีฟัต อัลมุ์ความรอบรู้ของ อัลเลาะห์นั้นเปลี่ยนแปลงหรือถูกสร้างขึ้นมาใหม่ไม่  พระองค์ทรงรู้(ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม) เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแล้วเกิดขึ้นกับมัคลูคทั้งสิ้น(กล่าวคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงในความรู้ที่ดั้งเดิมของอัลเลาะห์ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนสรรพสิ่งต่างๆไม่)

(15)   (เราศรัทธาว่า)อัลเลาะห์ได้ทรงสร้างสรรพสิ่ง(มนุษย์)ขึ้นในสภาพที่ปราศจากความเป็นกุโฟรหรือความมีศรัทธา หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสั่งใช้พวกเขา  (ให้กระทำอามัลที่ซอและห์) และทรงสั่งห้ามพวกเขา (จากความชั่วต่างๆ) มีกลุ่ม(มนุษย์)ที่ทรยศและปฏิเสธต่อสัจจะธรรม โดยปราศจากความช่วยเหลือจากอัลเลาะห์ และมีกลุ่ม (มนุษย์) ที่ศรัทธาต่ออัลเลาะห์ ซึ่งเป็นการศรัทธาอันประกอบไปด้วยการกระทำ การกล่าวคำปฏิญาณและการยอมรับ(ซึ่งทั้งหมดนี้ครอบคลุมทั้งกาย วาจา ใจ)โดยเตาฟิก การชี้แนะและความช่วยเหลือจากอัลเลาะห์แก่เขา

(16)   (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์ได้ทรงสร้างมวลมนุษย์มาจาก ซุลบี (ก้นกบ) ของท่านนบีอาดัมและได้ทรงสร้างให้พวกเขา(มวลมนุษย์) เป็นผู้ที่มีสติปัญญาแล้วจึงได้ทรงสั่งใช้ให้พวกเขา(มวลมนุษย์)มีศรัทธาต่อพระองค์และได้ยับยั้งพวกเขาไม่ให้ทำการทรยศต่อพระองค์ พวกเขา(มวลมนุษย์)ต่างยอมรับใน รูบูบียะห์(ความเป็นพระเจ้าผู้สร้าง) ของอัลเลาะห์ ซึ่งนั่นเป็นการศรัทธาของพวกเขาต่ออัลเลาะห์ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วเกิดขึ้นในโลกอัรวาฮ์(วิญญาณ) ก่อนที่มนุษย์จะเกิดขึ้นมาบนโลกดุนยา ซึ่งดังที่มีโองการของอัลเลาะห์ที่แจ้งว่า อัลเลาะห์ได้เอาสัตปฏิญาณจากมวลมนุษย์ว่า พระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขาหรือไม่ มวลมนุษย์ต่างกล่าวสดุดีและยอมรับว่า อัลเลาะห์คือพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา แล้วพวกเขาก็ได้เกิด(บนโลกดุนยา)ด้วยกับ ฟิตเราะห์(กล่าวคือในการยอมรับความเป็นพระเจ้าของอัลเลาะห์)นั้น  (หลังจากนั้นก็มีบางส่วนจากมวลมนุษย์) บุคคลที่ทรยศ(กุโฟร) ต่ออัลเลาะห์ซึ่งแน่นอนเขาได้ทำผิดและได้เปลี่ยนแปลง (อันสัตปฏิญาณที่ให้ไว้กับอัลเลาะห์ในโลกอัรวาฮ์) และมีบางส่วนที่ยังคงมีศรัทธาในอัลเลาะห์และยอมรับ(ในความเป็นพระเจ้าของอัลเลาะห์) ซึ่งแน่นอนเขาผู้นั้นได้ยึดมั่นตลอดไป (อันสัตปฏิญาณที่ให้ไว้กับอัลเลาะห์ในโลกอัรวาฮ์)อัลเลาะห์ไม่ได้บังคับบ่าวของอัลเลาะห์ให้ทำการทรยศ ปฏิเสธหรือมีศรัทธาต่อพระองค์ (แต่อย่างใด)  และมิได้ทรงสร้างพวกเขาในสภาพของมุมิน(ผู้มีศรัทธาโดยกำเนิด)หรือปฏิเสธ(กุโฟร)โดยกำเนิดการยอมรับในรูบูบียะห์ของอัลเลาะห์  หากแต่ทว่าได้ทรงสร้างพวกเขาในสภาพของความเป็นบุคคลเท่านั้น(กล่าวคือในสภาพที่เป็นกลางยังไม่มีอีหม่านหรือกุโฟรแต่อย่างใด แล้วมันก็ขึ้นอยู่แต่กับตัวบุคคลที่จะกำหนดตัวของเขาเอง)

(17)   (เราศรัทธาว่า) อีหม่าน(การมีศรัทธาต่ออัลลอฮ์)และกุโฟร(การทรยศต่ออัลเลาะห์) นั้นเป็นผลงานการกระทำของมนุษย์เอง อัลเลาะห์ทรงรอบรู้ว่าใครที่จะทรยศ (กุโฟรต่อพระองค์) ในสภาพของการกุโฟรของเขา และเมื่อเขามีศรัทธาอีหม่านต่อพระองค์ อัลเลาะห์ก็ทรงรู้เกี่ยวกับเขาในสภาพการมีศรัทธาของพวกเขา  แล้วพระองค์ก็ทรงโปรดปรานต่อเขาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในความรู้และซีฟัตของพระองค์ไม่  (เราศรัทธาว่า) อันการกระทำทั้งหมดของมนุษย์นั้นไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวหรือการหยุดนิ่ง(และอื่นๆ)ล้วนแล้วแต่เป็นการขวนขวายของพวกเขาเอง ซึ่งอัลเลาะห์เป็นผู้สร้างและทั้งหมดนั้น(เหตุการณ์ต่างๆและอื่นๆ)ล้วนแล้วแต่เป็นไปตามความต้องการ ความรอบรู้และการกำหนด กอดอและกอดัร ของพระองค์ทั้งสิ้น

(18)   (เราศรัทธาว่า) การตออัต(การทำความดี/ความภักดีต่างๆนั้น)วายิบ เนื่องด้วยกับคำสั่งใช้ ความรัก ความยินยอม ความรู้ ความต้องการ กอดอ และ กอดัร ของอัลเลาะห์  ส่วน มะอ์ซียัต (การทำบาป/การฝ่าฝืนต่างๆ)นั้นล้วนเกิดขึ้นภายใต้ความรอบรู้  กำหนดการ กอดอ และ กอดัร  และความต้องการของอัลเลาะห์แต่โดยปราศจากความรัก ความยินยอมและการสั่งใช้จากอัลเลาะห์

(19)   (เราศรัทธาว่า) บรรดาศาสนทูต (ขอความผาสุกและซอลาวาต จงมีแด่พวกท่านทั้งหลาย)ของอัลเลาะห์ ทั้งหมดนั้นบริสุทธิ์ปราศจากบาปต่างๆทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ ( อีกทั้งปราศจาก) กุโฟรและการกระทำอันน่ารังเกียจ(ที่เป็นที่เสื่อมเสียต่อฐานะความเป็นศาสนทูตของพวกเขา) (แต่อย่างไรก็ตาม) บางส่วนของเหล่าศาสนทูตนั้นได้กระทำบางสิ่งบางอย่างที่ผิดพลาด(อย่างไม่เจตนาที่จะขัดต่อพระบัญชาของอัลเลาะห์)

(20)   (เราศรัทธาว่า) ท่านศาสดามูฮำหมัดนั้นคือบ่าวที่รัก นบีและร่อซู้ลของอัลเลาะห์ซึ่งได้รับการขัดเกลาและเลือกตั้ง ท่านไม่เคยเคารพ กราบไหว้เจว็ดรูปปั้น ไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์แม้แต่เพียงชั่วพริบตาเดียวและไม่เคยทำบาปทั้งเล็กหรือใหญ่

(21)   (เราศรัทธาว่า)มนุษย์ที่ประเสริฐที่สุดหลังจากบรรดาศาสนทูตแล้วคือท่านอบูบักร อัซซิดดิก (ผู้ที่มีสัจจะ) แล้วก็ท่านอุมัร อัลฟารุก  (ผู้ที่แยกแยะ) แล้วก็ท่านอุสมาน บินอัฟฟาน ซูลนูรัยนิ (ผู้ครอบครองดวงประทีปสองดวง) แล้วก็ท่านอาลี บินอาบีตอเล็บ อัลมุรตาดอ         (ผู้ที่ได้รับความยินยอม)-ขออัลเลาะห์ได้โปรดประทานความพึงพอใจแก่พวกเขาทั้งหลาย-พวกเขาเหล่านั้นคือบ่าว (ที่เคารพภักดีต่ออัลเลาะห์)และยึดมั่นอยู่บนหลักสัจจะธรรม(อัล-ฮักก์)  พวกเราน้อมภักดีต่อพวกเขา เนื่องด้วยสัจจะธรรม(ที่พวกเขายึดมั่น) พวกเราจะไม่กล่าวอะไรเกี่ยวกับเหล่าสาวก(ซอฮาบะฮ์)ของท่านศาสดา เว้นแต่ในสิ่งดีงาม

(22)   (เราปฎิญาณว่า) เราจะไม่กล่าวหา(พี่น้อง)มุสลิมคนใดว่าเป็นกาเฟร เนื่องจากบาปความผิดที่เขากระทำไปถึงแม้ว่าจะเป็นบาปใหญ่ก็ตาม ตราบที่เขาไม่ได้ยึดมั่นว่ามัน (การทำบาป)นั้นเป็นสิ่งที่ฮาลาล เราจะไม่ลบล้างคำว่า อีหม่าน ออกจากพวกเขา (กล่าวคือผู้ที่กระทำบาป) เรายังคงขนานนามพวกเขาว่าเป็นมุมินที่แท้จริง ซึ่งเขาอาจจะเป็นมุมิน ที่ ฟาซิก(ฝ่าฝืน) แต่ไม่ใช่กาเฟร (เป็นผู้ทรยศ-เนื่องจากการกระทำบาปใหญ่ของพวกเขา)

(23)   (เราเชื่อว่า) การลูบเช็ดรองเท้า คูฟ นั้นเป็นซุนนะห์ การละหมาดตามหลังอีหม่ามทั้งที่ซอและห์และฟาซิก นั้นถือว่าใช้ได้ เราจะไม่กล่าวว่ามุมินนั้นอีหม่านของเขาจะได้รับผลกระทบ (กล่าวคือสิ้นสภาพจากความมีศรัทธา) เนื่องจากบาปที่เขากระทำและเราก็ไม่กล่าวว่า เขาจะไม่เข้านรก(เขาอาจจะเข้านรกเนื่องจากบาปที่เขากระทำไป)และเราก็ไม่กล่าวว่าเขาจะอยู่ในนรกตลอดกาล ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นฟาซิกก็ตาม ตราบเท่าที่เขาได้ตายอย่างมีอีหม่านและเราก็ไม่กล่าวว่าอันความดีของเรานั้นได้ถูกตอบรับทั้งมวล และความชั่วที่เราทำไปนั้นจะได้รับความอภัยโทษทั้งมวล ดังเช่นที่กลุ่มมุรยีอะห์กล่าวไม่ (กล่าวคือเราเชื่อมั่นว่าการตอบแทนผลบุญและการลงโทษนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลเลาะห์แต่เพียงผู้เดียว พระองค์ทรงตอบแทนผลบุญหรือลงโทษบุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์) แต่ทว่าเราเชื่อมั่นว่าบุคคลใดก็ตามที่ทำความดีอย่างครบถ้วนถูกต้องตามเงื่อนไขต่างๆโดยปราศจากสิ่งที่ทำให้อิบาดะห์ของเขาเปลี่ยนไป- อันประกอบไปด้วย กุโฟร์ ริดดะห์ (การตกศาสนา)หรืออุปนิสัยความประพฤติปฎิบัติที่เลวอื่นๆ-พร้อมทั้งเขาได้ตายจากโลกดุนยาด้วยอีหม่าน(แท้จริง) อัลเลาะห์จะไม่ทำให้ความดีของเขานั้นศูนย์เปล่า พระองค์จะทรงรับความดีของเขาและตอบแทนความดีให้แก่เขา    และอันความชั่วต่างๆที่ไม่ใช่ ชีริก (การตั้งภาคี)  และ กุโฟร์ (การทรยศ) -ที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำไป-โดยที่เขาไม่ทำการเตาบัต แต่ทว่าเขาตายโดยมีอีหม่าน แท้จริงสำหรับเขแล้วนั้นหากอัลเลาะห์ทรงประสงค์ที่จะลงโทษเขา นั่นก็เป็นสิทธิ์ของอัลเลาะห์ และถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์ที่จะอภัยโทษเขา พระองค์ก็จะไม่ทรงลงโทษเขา

(24)   (เราศรัทธาว่า) อัน ริยาอ์ (การโอ้อวด)นั้นเมื่อเกิดขึ้นกับกิจการงานความดีใดๆก็ตามมันจะทำลายซึ่งผลบุญของกิจการงานอิบาดะห์นั้นเช่นเดียวกับ อุญุบ(การสำคัญว่าตนเองนั้นดีเลิศกว่าคนอื่น)

(25)   (เราศรัทธาว่า) มุอ์ซียาต  (สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น) สำหรับบรรดาศาสนาทูตและ กะรอมัต สำหรับบรรดาวะลี (ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮ์)นั้นเป็นจริง ส่วนสิ่ง(ปาฎิหารย์อื่นๆ)ที่เกิดขึ้นกับบรรดาศัตรูของอัลเลาะห์ เช่น อิบลีส ฟิรอูน และ ดัจญาล์-ดังที่ได้ถูกรายงานในการบอกเล่าต่างๆนั้น- เราไม่เรียกว่า อายาต (สัญญาณต่างๆ)  มุอ์ยีซาต หรือ กะรอมัต แต่ทว่าเราเรียกมันว่า เป็นการตอบสนองความต้องการของพวกเขา(เหล่าศัตรูของอัลเลาะห์) ทั้งนี้เนื่องจากว่าอัลเลาะห์ต้องการที่ตอบสนองความต้องการเหล่าศัตรูของพระองค์เพื่อเป็นการ อิสติดราจและเป็นการลงโทษสำหรับพวกเขา เพื่อที่พวกเขาจะได้หลงงมงายและเพิ่มความอยุติธรรมและกุโฟร์-ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่ง ญาอีซ ย่อมเกิดขึ้นได้ อัลเลาะห์นั้นคือผู้ทรงสร้าง ถึงแม้ว่าก่อนที่จะทรงสร้าง(สรรพสิ่งขึ้นมา)และทรงเป็นผู้ประทานริสกีถึงแม้ว่าก่อนที่ทรงให้ริสกี(แก่บรรดามัคลูก)

(26)   (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์ทรงทอดพระเนตรมองในวันอาคีเราะห์(ทั้งในอดีต ปัจจุบันและในอนาคต)และเหล่าบรรดามุอ์มินนั้นจะได้เห็นพระองค์ในสวนสวรรค์ด้วยสายตาของพวกเขาอันเป็นการมองเห็นที่ปราศจากความเป็นอย่างไร(ไม่เหมือนการมองของมัคลูก)ปราศจากการเปรียบเทียบและปราศจากระยะความห่างระหว่างพระองค์กับบ่าวของพระองค์

(27)   (เราศรัทธาว่า)อีหม่านนั้นคือการปฎิญาณ(ด้วยลิ้น)และการยอมรับ(ด้วยกับใจ) และอีหม่านของชาวฟ้าและชาวแผ่นดินหาได้เพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่-ในด้านที่เกี่ยวกับสิ่งที่วาญิบต้องศรัทธา-แต่ทว่าอีหม่านนั้นเพิ่มขึ้นและลดลงในด้านความยึดมั่นและความเชื่อถือ-บรรดามุอ์มินนั้นเท่าเทียมกันในด้านความศรัทธา(กล่าวคือสิ่งที่วาญิบต้องมีศรัทธา)แต่แตกต่างกันในด้านอามัลการกระทำของแต่ละคน

(28)   (เราศรัทธาว่า)อันอิสลามนั้น คือการมอบหมายและการปฎิบัติตามคำสั่งของอัลเลาะห์ อันคำนิยามว่า อีหม่านและ อิสลาม นั้นแตกต่างกันในแง่ของภาษาเท่านั้น ไม่มีอีหม่านหากอีหม่านปราศจากอิสลามและเช่นเดียวกันไม่มีอิสลามหากอิสลามนั้นปราศจากอีหม่าน ดุจดังแผ่นหลัง(ของมนุษย์)กับหน้าท้อง(ของเขา) คำนิยามของคำว่า ดีน (ศาสนา)นั้นประกอบไปด้วย 1 อีหม่าน(ความศรัทธา) 2 อิสลาม(การมอบหมายและปฎิบัติตาม) 3 และกฎ ชะรีอะห์ อื่นๆ

(29)   (เราเชื่อมั่นว่า)เรารู้จักอัลเลาะห์ซึ่งเป็นการรู้จักที่เป็นสัจจะจริง-ดังที่อัลเลาะห์ได้ทรงบอกเล่าเกี่ยวกับพระองค์และคุณสมบัติ(ซีฟัต)ของพระองค์เองในอัลกุรอานและ(เราเชื่อมั่นว่า)ไม่มีผู้ใดสามารถกระทำอิบาดะห์(การภักดี)ต่ออัลเลาะห์ได้อย่างถูกต้องและเที่ยงแท้ดุจดังว่าเขาเป็น อะห์ลี สำหรับการทำอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์ หากแต่ทว่าเขาเพียงแต่สามารถทำการอิบาดะห์(ต่ออัลเลาะห์)ได้ดังที่พระองค์ทรงสั่งใช้ในอัลกุรอานและตามแบบฉบับของท่านศาสดาเท่านั้น

(30)   (เราศรัทธาว่า) บรรดามุมินนั้นเท่าเทียมกันทุกคนในด้าน มะอ์รีฟัต(การรู้จักอัลเลาะห์) ยากีน(ความเชื่อมั่น) ตะวักกัล (ความมอบหมาย) มะฮับบะห์ (ความรัก) ริดอ (ความยินยอม) เคาฟ์ (ความเกรงกลัว) รอญาอ์(ความหวัง)และ อีหม่าน(ความศรัทธา)ต่ออัลเลาะห์ พวกเขานั้นแตกต่างกันในแง่ต่างๆ(ที่กล่าวมา)นอกจากอีมาน

(31)   (เราศรัทธาว่า) อัลเลาะห์นั้นทรงคุณธรรมและยุติธรรมต่อบ่าวของพระองค์ บางครั้งพระองค์ทรงประทานผลบุญอันล้นหลามเกินกว่าสิ่งสมควรต่อบ่าวของพระองค์ ซึ่งนั้นก็เป็น ตะฟัดดุล (พระเมตตา) จากพระองค์และบางครั้งก็ทรงลงโทษบ่าวที่กระทำผิด-ซึ่งเป็นความยุติธรรมต่อความผิด(บาป)ที่บ่าวผู้นั้นได้กระทำไปและบางทีก็ทรงอภัยโทษแก่เขา(โดยไม่ผิดกับเขา)

(32)   (เราศรัทธาว่า) อัน ชะฟาอะห์ การขอความช่วยเหลือของบรรดาศาสนทูต(ต่อประชาชาติของพวกเขาในวันอาคีเราะห์)นั้นเป็นจริงและอันการให้ ชะฟาอะห์ การขอความช่วยเหลือของท่านศาสดามูฮำหมัดต่อบรรดามุมินที่กระทำผิดและบาปใหญ่ที่สมควรจะต้องได้รับลงโทษนั้นเป็นจริงและเป็นที่กำหนดอย่างแน่นอนในหลักฐานต่างๆ (เราศรัทธาว่า)การชั่งน้ำหนัก (คุณงามความดีและความชั่วของ)อามัล(การงาน)ด้วยตาชั่งใน   วันกิยามัตนั้นเป็นจริง อันบ่อน้ำ (เฮาด์)ของท่านนบีมูฮำหมัดนั้นเป็นจริง   การ กีซอส (การเรียกร้องสิทธิ)ระหว่างคู่พิพาทด้วยกับความดีใน            วันกิยามัตนั้นเป็นจริง และถ้าหากไม่มีความดีหลงเหลืออยู่ ความชั่วของฝ่ายหนึ่งจะถูกนำมาให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง(เพื่อเป็นการชดใช้)ซึ่งนั่นก็เป็นจริงเช่นเดียวกัน     (เราศรัทธาว่า)อันสวนสวรรค์และนรกนั้น มัคลูกที่ถูกสร้างในขณะนี้และจะไม่สูญสลายตลอดกาลและอัน ฮูรูลอัยน์(เทพธิดานางฟ้า) ในสวนสวรรค์นั้นไม่ตายตลอดกาล และอันการลงโทษและการตอบแทนผลบุญของอัลเลาะห์(ในวันอาคีเราะห์นั้น)ไม่พินาศสูญสลายตลอดกาลและ(เราศรัทธาว่า)อัลเลาะห์ได้ทรงประทาน ฮิดายะห์(การชี้นำทาง) แก่บุคคลที่ทรงประสงค์-ซึ่งเป็นพระเมตตาจากพระองค์(แก่เขา)และทรงทำให้หลงผิดต่อบุคคลที่ทรงประสงค์-ซึ่งเป็นความยุติธรรมจากพระองค์ต่อเขา-และพระองค์ทรงทำให้เขาหลงผิดและมิช่วยเหลือเขา(ทั้งนี้และทั้งนั้นบุคคลคนนั้นได้เลือกด้วยตัวของเขาเองที่จะเดินบนหนทางที่หลงผิด)   (เราศรัทธาว่า)อันความหมายของคำว่า คอซลาน(การไม่ให้ความช่วยเหลือ)นั้นหมายถึงพระองค์ไม่ทรงประทาน เตาฟีก (การชี้นำ) แก่เขาไปสู่ที่พระองค์ยินยอม(อย่างเช่นความดีและอื่นๆ) ทั้งนี้ต่างก็เป็นความยุติธรรม จากพระองค์(เพราะเขาผู้ใดผู้นั้นได้เลือกที่จะเดินบนหนทางที่หลงผิด)และเช่นเดียวกันกับการที่พระองค์ทรงลงโทษเขาโดยไม่ให้ความสงเคราะห์แก่เขา ซึ่งนั้นก็เนื่องมาจากความผิดที่เขาเองเป็นผู้กระทำ)

(33)   (เราศรัทธาว่า)ไม่เป็นการสมควร(สำหรับมุมิน)ที่จะกล่าวว่า ชัยตอนนั้นได้กระชากอีหม่านออกจาก(หัวใจของ)บ่าวมุมินผู้หนึ่งผู้ใดด้วยกับการบังคับและการขัดขืน(จากบ่าวผู้นั้น)-กล่าวคือไม่ใช่ชัยตอนเป็นผู้ที่กระชากอีหม่านของผู้หนึ่งผู้ใดไปโดยปราศจากความคล้อยตามหรือความต้องการของบุคคลนั้นๆ-แต่ทว่า(เรา)สมควรที่กล่าวว่า บ่าวผู้นั้นได้ละทิ้งอีหม่าน(ด้วยกับตัวเองและความต้องการของเขาเอง)และหลังจากนั้น      ชัยตอนจึงได้กระชากอีหม่าน(ออกจากหัวใจ)ของเขา (โดยนำเขาไปสู่กุโฟรและหันเหออกจากหนทางที่ถูกต้อง)

(34)   (เราศรัทธาว่า) การสอบถามของ มุงกัรและ นากีร (มะลาอิกัตที่มีหน้าที่สอบถามคนตายในหลุมศพ)ในกุโบรนั้นเป็นความจริงและ(เราศรัทธาว่า) การกลับคืนของวิญญาณสู่ร่างในหลุมศพนั้นเป็นจริงและ(เราศรัทธาว่า)การบีบตัวของหลุมฝังศพและการลงโทษในกุโบรนั้นเกิดขึ้นจริงต่อบรรดากุฟฟาร(ผู้ที่ปฎิเสธอัลเลาะห์)ทั้งมวลและการลงโทษในกุโบรต่อคนมุมินบางส่วนที่กระทำบาปนั้นเป็นจริง(ฮักก์)และย่อมเกิดขึ้นได้(ญาอิซ)

(35)   และ(เราศรัทธาว่า)ทุกสิ่งทุกอย่างที่บรรดาอุละมาอ์ (นักวิชาการมุสลิม)พูดถึงซีฟัต(คุณสมบัติ)ของอัลเลาะห์ในภาษาฟัรซี(ภาษาอิหร่าน)นั้นเป็นที่อนุญาตนอกจากคำว่า ยาดุน(มือ) ซึ่งคำคำนี้ไม่อนุญาตให้ใช้คำในภาษาฟัรซีและเป็นที่อนุญาตให้ใช้คำว่า คุดา(หมายถึงอัลเลาะห์)ในภาษาฟัรซี-โดยไม่ ตัชบีฮ์ (การเปรียบเทียบคุณสมบัติของอัลเลาะห์กับคุณสมบัติของมัคลูก) หรือ ไกฟียะห์(การพูดเกี่ยวกับความเป็นอย่างไรของคุณสมบัติของอัลเลาะห์)

(36)   และ(เราเชื่อว่า) ความหมายของคำว่า ใกล้ชิดหรือ ห่างไกลของอัลเลาะห์(ต่อบ่าวของพระองค์)นั้น ไม่ใช่ใกล้หรือไกลในแง่มุมของระยะทาง แต่ทว่าคำทั้งสองคำหมายถึง กะรอมะห์-ความสูงส่ง/ความมีเกียรติ์ที่อัลเลาะห์ประทานให้แก่บ่าวที่ดีซึ่งมันก็หมายถึงว่าเขาผู้นั้นได้ใกล้ชิดต่ออัลเลาะห์-และ ฮาวาน-ความอัปยศที่อัลเลาะห์มอบให้แก่บ่าวที่ทรยศ ซึ่งนั้นก็หมายความว่าเขาผู้นั้นได้ห่างไกลจากอัลเลาะห์-ทั้งนี้และทั้งนั้นมันปราศจากความเป็นอย่างไร และ(เราเชื่อว่า) ผู้ที่ทำการ มุนาญาต (วิงวอนขอต่ออัลเลาะห์)เขาผู้นั้นได้มุ่ง(ไปยังพระองค์)และเช่นเดียวกันกับการใกล้ชิด(ของบ่าวที่ดีต่ออัลเลาะห์)และการอยู่ภายใต้พระพักตร์ของอัลเลาะห์ในสวนสวรรค์นั้นทั้งหมด(เป็นจริง)โดยปราศจากความเป็นอย่างไร(กล่าวคือเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ว่ามันจะเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างไรและเราไม่จำเป็นที่จะต้องรู้)

(37)    (เราศรัทธาว่า)อัลกุรอ่านนั้นได้ถูกประทานลงมายังท่านศาสดามูฮำหมัด และถูกเขียนลงบนมัซฮัฟ (เป็นหนังสือ)และ(เราศรัทธาว่า)โองการอัลกุรอ่านทุกโองการในแง่ของความที่เป็นคำตรัสของอัลเลาะห์นั้นเท่าเทียบกันในด้านความประเสริฐและความยิ่งใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม     อัลกุรอ่านบางโองการนั้นสูงส่งกว่าในด้านการอ่านและเนื้อหาที่ถูกกล่าวในโองการนั้นๆ ยกตัวอย่าง เช่น อายัตกุรซี (นั้นประเสริฐล้ำเลิศเหนือโองการอื่นๆ)เพราะว่าสิ่งที่ถูกกล่าวในโองการนี้ (เนื้อหาของอายัต)เกี่ยวกับความสูงส่ง ความเกรียงไกร และคุณลักษณะต่างๆของอัลเลาะห์ ดังนั้นโองการ อายัตกุรซี ซึ่งประกอบไปด้วยความประเสริฐในการอ่านและเนื้อหาที่ถูกระบุในโองการนี้จึงถือว่าประเสริฐกว่าโองการอื่นๆ อัลกุรอ่านบางโองการนั้นมีความประเสริฐในแง่การอ่านเท่านั้น ยกตัวอย่างโองการอัลกุรอ่านที่กล่าวถึงเรื่องราวของบรรดากุฟฟาร (ผู้ทรยศ)แต่ไม่ได้ประเสริฐในแง่ของเนื้อหาที่ถูกกล่าว และเช่นเดียวกันกับพระนามของอัลเลาะห์ และคุณสมบัติของอัลเลาะห์นั้นเท่าเทียมกันในด้านความยิ่งใหญ่ และความประเสริฐโดยปราศจากความแตกต่างซึ่งกันและกัน

(38)   (เราศรัทธาว่า) กอซิม ตอฮีร และอิบรอฮีม ทั้งสามคนนั้นคือบุตรชายของท่านศาสดามูฮำหมัดและ (เราศรัทธาว่า) ฟาติมะห์ รุกอยยะห์         ไซหนับ และ อุมม์ กัลซูม ทั้งสี่คนนั้นคือบุตรสาวของท่านศาสดามูฮำหมัด

(39)   (เราศรัทธาว่า) ผู้ใดก็ตามที่มีความสงสัยในเรื่องที่ละเอียดอ่อน เรื่องปลีกย่อยรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการเตาฮีด ให้เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าตนเองนั้นขอยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของอัลเลาะห์ จนกว่าเขาจะไปพบและสอบถามผู้ที่รู้ (อุละมาอ์) และถือว่าไม่เป็นการสมควรที่เขาจะล่าช้าที่จะแสวงหา (คำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาทางหลักการศรัทธา)และไม่เป็นการเพียงพอสำหรับเขาที่จะเพิกเฉย (ไม่ขวนขวายแสวงหาคำตอบที่ถูกต้อง)และถ้าหากเขาเพิกเฉย เขานั้นได้เป็นกุโฟร (เพราะอีหม่านนั้นจำเป็นที่จะต้องเป็นการเชื่อมั่นแบบร้อยเปอร์เซ็น โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆในใจแม้แต่น้อย) และ(เราศรัทธาว่า)อันคำบอกเล่า(ของท่านศาสดา)เกี่ยวกับการมิอ์ราจ (การเดินทางขึ้นสู่ฟากฟ้าของท่านนั้น)เป็นความจริง และผู้ใดที่ปฏิเสท (เกี่ยวกับการมิอ์ราจของท่านศาสดา)เขาคือผู้ที่อุตริ และหลงผิด

(40)   และ (เราศรัทธาว่า) การออกมาของดัจญาล ยะอ์ญูจ มะอ์ญูจ การที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก การลงมาของท่านนบีอีซาจากฟากฟ้า และสัญญานอื่นๆเกี่ยวกับวันกิยามัต ดังปรากฏในฮะดีษที่ซอเฮียะห์นั้นเป็นจริง ทั้งสิ้น และจะเกิดขึ้นทั้งหมด (อย่างแน่นอน)และ (สุดท้ายนี้เราศรัทธาว่า)อัลเลาะห์ทรงประทานฮิดายะห์(ทางนำ)ให้แก่บุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์สู่หนทางที่เที่ยงตรง 

 
 
 

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติศาสตร์ของการเผยเเพร่ศาสนาอิสลามมายังดินเเดนเเหลมมลายู

Sejarah Ringkas Tentang Kedatangaan Islam di Nusanatara

msp.jpg

          Pada tahun 30 Hijri atau 651 Masihi, hanya berselang sekitar 20 tahun sejak wafatnya Rasullullah SAW, Khalifah Uthman ibn Affan RA mengirim deligasi ke Cina untuk memperkenalkan Daulah Islam yang belum lama berdiri.
  ในปีฮิจเราะห์ที่ 30 หรือปี ค.ศ 651 เพียงเเค่ 20 ปีหลังจากการเสียชีวิตของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล)ท่านคอลีฟะห์อุซมานได้ส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนเพื่อเเนะนำรัฐอิสลามที่ก่อต้้งได้ไม่นาน
 Dalam perjalanan yang memakan 4 tahun ini, para utusan Uthman ibn Affan RA ternyata sempat singgah di Kepulauan Nusantara. 
  ในการเดินทางที่กินเวลาสี่ปีนี้ บรรดาคณะทูตของคอลีฟะห์อุซมาน บินอัฟฟานได้เเวะที่หมู่เกาะนูซันตารา
Beberapa tahun kemudian, tepatnya tahun 674 M, Dinasti Umayyah telah mendirikan pangkalan dagang di pantai barat Sumatera. Inilah perkenalan pertama penduduk Indonesia dengan Islam.
  หลายปีให้หลัง ซึ่งตรงกับปี ค.ศ 674 อาณาจักรอุมัยยะห์ได้สร้างท่าเรือพานิชขึ้นที่่ชายหาดฝั่งตะวันตกของสุมาตรา นี่นับเป็นการเเนะนำศาสนาอิสลามให้เเก่ผู้คนทางอินโดนีเซียเป็นครั้งเเรก
 Sejak itu para pelaut dan pedagang Muslim terus berdatangan, abad demi abad. Mereka membeli hasil bumi dari negeri nan hijau ini sambil berdakwah. Lambat laun penduduk pribumi mulai memeluk Islam meskipun belum secara besar-besaran.
นับตั้งเเต่บัดนั้นบรรดานักเดินทะเลเเละพ่อค้ามุสลิมต่างก็มาเยือน นานนับศตวรรษพวกเขาซึ้อผลผลิตพื้นเมืองจากหัวเมืองที่อุดมสมบูรณ์นี้พร้อมกับเผยเเพร่ศาสนาอิสลาม นานๆเข้าประชาชนพื้นเมืองก็เริ่มนับถือศาสนาอิสลามที่ละนิดที่ละน้อยไม่ใหญ่โต
 Aceh, daerah paling barat dari Kepulauan Nusantara, adalah yang pertama sekali menerima agama Islam. Bahkan di Aceh lah kerajaan Islam pertama di Indonesia berdiri, yakni Pasai.
อาเจ็ะห์ พื้นที่ทางทิศตะวันตกที่สุดจากหมู่เกาะนูซันตารา เป็นพื้นที่เเรกที่รับนับถือศาสนาอิสลาม ยิ่งไปกว่านั้นรัฐอิสลามเเห่งเเรก กล่าวคือรัฐอิสลามปาไซ ถูกก่อตั้งขึ้นที่อาเจะห์
          Kedatangan Islam ke Tanah Melayu dipercayai bermula pada abad ke-7 Masihi. Pandangan ini berdasarkan kemungkinan agama Islam disebarkan oleh para pedagang/pendakwah dari Asia barat ke Negara Cina. 
         เป็นที่เชื่อกันว่าการมาของศาสนาอิสลามยังดินเเดนมลายูนี้เริ่มต้นตั้งเเต่คริสศตวรรษที่เจ็ด ทัศนะนี้ตั้งอยู่ข้อสันนิฐานว่ามีความเป็นไปได้ว่าบรรดาพ่อค้านักดะวะห์จากเอเซียตะวันตกไปยังประเทศจีนเป็นผู้เผยเเพร่
อิสลาม
    Seterusnya Islam semakin berkembang pesat berikutan dengan kemunculan beberapa buah kerajaan Islam di Pasai dan Perlak di persekitaran Selat Melaka pada abad ke-13 Masihi.
   ต่อจากนั้นศาสนาอิสลามก็ได้ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้นสืบเนื่องจากการก่อเกิดรัฐอิสลามหลายรัฐที่ปาไซเเละเปิรลักที่รอบๆช่องเเคบมลากาในคริสศตวรรษที่สิบสาม
          Semenjak datangnya bangsa Eropah pada akhir abad ke-15 Masihi ke kepulauan subur makmur ini, memang sudah terlihat sifat rakus mereka untuk menguasai. Apalagi mereka mendapati kenyataan bahawa penduduk kepulauan ini telah memeluk Islam, agama seteru mereka, sehingga semangat Perang salib pun selalu dibawa-bawa setiap kali mereka menundukkan suatu daerah.
       นับตั้งเเต่การมาถึงยังดินเเดนหมู่เกาะที่อุดมสมบูรณ์นี้ของชนชาวยุโรปในปลายคริสศตวรรษที่สิบห้า พวกเขาได้เเสดงให้เห็นถึงความละโลภที่อยากจะยึดครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พวกเขาพบว่าประชาชนที่หมู่เกาะเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับนับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาที่เป็นศัตรูของพวกเขา พวกเขาได้นำเอาจิตวิญญานของสงครามครูเสดมาใช้ทุกครั้งที่พวกเขายึดครองดินเเดนๆหนึ่ง
    Dalam memerangi Islam mereka berkerja sama dengan kerajaan-kerajaan pribumi yang masih menganut Hindu / Budha.
   ในการทำสงครามกับอิสลาม พวกเขาได้ร่วมมือกับรัฐพืื้นเมืองต่างๆที่ยังนับถือศาสนาฮินดู/พุทธ
    Satu contoh, untuk memutuskan jalur pelayaran kaum muslimin, maka setelah menguasai Melaka pada tahun 1511, Portugis menjalin kerjasama dengan  Kerajaan Sunda Pajajaran untuk membangun sebuah pangkalan di Sunda Kelapa. Namun maksud Portugis ini gagal total setelah pasukan gabungan Islam dari sepanjang pesisir utara Pulau Jawa bahu membahu menggempur mereka pada tahun 1527 M. 
    ยกตัวอย่าง เพื่อตัดเส้นทางการเดินเรือของคนมุสลิม ภายหลังจากที่ยึดครองมลากาได้ในปี 1511 โปรตุเกสได้สานความสัมพันธ์กับรัฐไซุนดา ปาญาญารันเพื่อสร้างฐานทัพเรือขึ้นที่ ซุนดาเกอลาปา อย่างไรก็ตามเป้าหมายของโปรตุเกสนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงหลังจากที่กองทัพร่วมอิสลามจากตลอดชายฝั่งตอนเหนือของเกาะชวาได้เคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมมือกันสู้รบกับพวกเขาในปี คริสศักราชที่ 1527

Kedatangan kaum kolonialis di satu sisi telah membangkitkan semangat jihad  kaum Muslimin Nusantara. Sejarah telah mencatat jutaan syuhada Nusantara yang gugur pada berbagai pertempuran melawan Belanda, British & Portugis di abad 16 dan 17 seperti Melaka (Malaysia), Sulu (Filipina), Pasai, Banten, Sunda Kelapa, Makassar, Ternate, hingga perlawanan para ulama di abad 18 seperti Perang Cirebon (Bagus Rangin), Perang Jawa (Diponegoro), Perang Paderi (Imam Bonjol) dan Perang Aceh (Teuku Umar).
  การมาของพวกนักล่าอาณานิคมในมุมหนึ่งได้ปลุกจิตวิญญานเเห่งการญิฮาดของชนชาวมุสลิมที่นูซันตารา ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ว่ามีนรรดาชุฮะดาอ์นับล้านคนที่เสียชีวิตในการสู้รบหลายครั้งเพื่อต่อต้้าน
เนเธอร์เเลนด์ อังกฤษเเละ โปรตุเกส ในศตวรรตที่สิบหกเเละสิบเจ็ดเช่นที่มลากา (มาเลเซีย) ซูลู (ฟิลิปปินส์) ปาไซ บันเตน ซุนดา เกอลาปา มากาซัร เติรเนต ร่วมถึงการทำสงครามโดยบรรดาอุละมาอ์ในศตวรรตที่สิบเเปดเช่น สงครามซิเรบอน (่บาฆุซ รางิน) สงครามขวา (ดีโปเนโฆโร) สงครามบาทหลวง (อิหม่ามบันโญล) เเละสงครามอาเจะห์
          Di zaman ini, walaupun bumi Nusantara semuanya bebas dari jajahan British, Belanda, Portugis & Amerika, namun hati dan minda penduduknya masih di kongkong oleh pemikiran Barat (non Muslim). Apa saja yang datang dari Barat kelihatan lebih cantik, lebih bagus, gempak, sesuai dengan edaran zaman dan lain-lain lagi.


       ในยุคปัจจุบันนี้ ถึงเเม้ว่าดินเเดนนูซันตาราทั้งหมดจะเป็นอิสระจากการยึดครองของอังกฤษ เนเธอร์เเลนด์ โปรตุเกสเเละอเมริกาเเล้วก็ตาม เเต่ทว่าจิตใจเเละความคิดของผู้คนในดินเเดนเเห่งนี้ยังคงถูกครอบงำโดยเเนวความคิดตะวันตก อะไรก็ตามที่มาจากตะวันตกถูกมองว่าสวยงามกว่า ดีเลิศกว่า เเละเหมาะสมกับยุคสมัยมากกว่าเเละอื่นๆ
          Sebenarnya inilah yang meyebabkan kemunduran kita, bukan sahaja di Nusantara tetapi di seluruh permukaan alam. Apabila Ummat Islam tinggalkan kehidupan suci murni Nabi Muhammad SAW kemunduran dan kecelakaan akan menimpa Ummat Islam. Dari aspek Imaaniah, Ibaadah, Muamalaah, Muasyarah & Akhlak (tingkah laku) 100% secara total perlu diamalkan mengikut ajaran Baginda Muhammad SAW barulah Ummat Islam akan dimuliakan dan disanjung oleh Allah SWT sebagaimana Allah SWT telah memuliakan dan meredhai Sahabat-sahabat Nabi SAW. Tidak ada jalan lain untuk mendapat kejayaan (dunia & akhirat) melainkan  dengan mengikuti Al Quran & Sunnah Nabi Muhammad SAW.  

     เเท้จริงเเล้วนี่เเหละคือสาเหตุที่ทำให้พวกเราล้าหลังไม่ใช่เฉพาะที่นูซันตาราเท่านั้นเเต่ทั่วทุกมุมโลก เมื่อใดก็ตามที่อุมัตอิสลามละทิ้งเเนวทางการดำรงชีวิตที่บริสุทธิของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล) ความถดถอยเเละความพินาศก็จะมาประสบกับอุมัตอิสลาม เราจำเป็นต้องเจริญรอยตามคำสอนของท่านศาสดามูฮำหมัดในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะด้านอีหม่าน อิบาดะห์ มุอามะละห์ มุอาชะระห์ เเละอัคล๊ากอย่างร้อยเปอเซนต์ เมื่อนั้นอุมัตอิสลามจักได้รับการยกย่องเเละการเชิดชูจากอัลลอฮ์ (ซ.บ) ไม่มีหนทางอื่นที่เราจะได้รับความสำเร็จ (ในดุนยาเเละอาคิรัต)ยกเว้นด้วยกับการปฏิบัติตามอัลกุรอ่านเเละซุนนะห์ของท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล)